ก. วัตถุประสงค์ด้านการเรียนรู้
(๑) เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจเกี่ยวกับพุทธศาสนาทั้งที่เป็นหลักคำสอน และแนวปฏิบัติที่ปะปนกับศาสนาอื่น หรือความเชื่ออื่น ๆ อิทธิพลของพุทธศาสนาที่มีต่อชาวไทยในด้านต่าง ๆ โดยเน้นหลักคำสอนที่มีผลต่อการดำเนินชีวิต มิติทางสังคม มิติทางอารมณ์และสุนทรียภาพ ธรรมเนียมประเพณีไทยที่เกี่ยวกับพุทธศาสนา
(๒) เพื่อให้นักศึกษามีความในการวิเคราะห์ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับพุทธศาสนาในชีวิตคนไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน ในฐานะที่พุทธศาสนาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมไทยที่มีบทบาทสำคัญในวิถีชีวิตของชาวไทยด้านต่าง ๆ
(๓) เพื่อให้นักศึกษามีความเข้าใจเกี่ยวกับการปะทะสังสรรค์ระหว่างชีวิตทางศาสนาของชาวพุทธกับระบบความเชื่อต่าง ๆ ในสังคมสมัยใหม่ ความขัดแย้งระหว่างรูปแบบชีวิตทางพุทธศาสนากับค่านิยมทางวัฒนธรรมที่ปรับเปลี่ยนไปตามกาละสมัย โดยเน้นทำความเข้าใจอย่างวิพากษ์วิจารณ์
"พัฒนาการของพุทธศาสนาในยุคเริ่มแรก"
พุทธศาสนากําเนิดขึ้นก่อนคริสต์ศักราชประมาณ ๖๐๐ปี ในดินแดนชมพูทวีป ซึ่งเป็นดินแดนที่ใช้เรียก บริเวณตั้งแต่ตอนใต้ของภูเขาหิมาลัยลงมาจนถึงดินแดนในคาบสมุทรอินเดียชาวพุทธเชื่อว่าพระพุทธเจ้าบําเพ็ญสมณธรรมจนตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณและทรงเผยแผ่พระธรรมคําสอนตลอดเวลา ๔๕ พรรษา ผู้คนรู้จักพระองค์ในนาม “พุทธะ” หรือ “พระพุทธโคดม”เริ่มจากขบวนการเคลื่อนไหวทางศาสนาเล็ก ๆ ใน ยุคเริ่มแรกพัฒนาการจนกระทั่งกลายเป็นสถาบันการศึกษาพุทธศาสนาอันยิ่งใหญ่มีชื่อเสียงไปทั่วเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในพุทธศตวรรษที่ ๑๐(คริสต์ศตวรรษที่ ๕) ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗ (คริสต์ศตวรรษที่ ๑๒) พุทธศาสนาที่ก่อตั้งโดยพระพุทธเจ้าก็ริบหรี่ลงในดินแดนชมพูทวีป เมื่อกองทัพมุสลิมบุกเข้าไปครอบครองดินแดนชมพูทวีป มหาวิทยาลัยนาลันทาและศูนย์การศึกษาพุทธศาสนาอีกหลายแห่งถูก ทําลาย เวลานั้นพุทธศาสนาซึ่งแตกออกออกเป็นหลายนิกายก็ได้กลายเป็นศาสนาของโลกไปแล้ว พุทธศาสนาตามแบบฉบับไม่ว่านิกายใดล้วนยึดโยงกับเรื่องเล่าของพระพุทธเจ้า ตํานานการออกบวชการเผยแผ่ศาสนา และพระธรรมคําสอนของพระองค์ พุทธศาสนาในแบบฉบับที่เป็นทางการของรัฐไทยหรือ พุทธศาสนาที่เป็นศูนย์กลางของพุทธศาสนิกชนไทยส่วนใหญ่ในปัจจุบันก็ประกอบสร้างด้วยเรื่องเล่าและตํานานต่าง ๆ เกี่ยวกับพระพุทธเจ้าเช่นเดียวกันกับพุทธศาสนานิกายอื่น ๆ ที่มีอยู่ในโลกปัจจุบัน การถือกําเนิด การใช้ชีวิตในโลกฆราวาส การออกบวชและการตรัสรู้ของพระองค์จึงเป็นจุดเริ่มต้นสําคัญของการมีอยู่ของพุทธศาสนา เพราะเรื่องเล่าไม่เพียงแต่กําหนดสถานะความเป็นมาขององค์กรทางพุทธศาสนา หากแต่ให้แบบแผนที่ พุทธศาสนิกชนพึงยึดถือปฏิบัติตามอีกด้วย
โดย : ผศ.ดร.ชาญณรงค์ บุญหนุน
สารบัญ
สัปดาห์ที่
|
หัวข้อ/รายละเอียด
|
อาจารย์ผู้สอน
|
2
[รอกำหนด]
|
ความเชื่อของชาวพุทธ
พระพุทธเจ้าของชาวพุทธ
|
ชาญณรงค์ บุญหนุน
|
3
[รอกำหนด]
|
บุญกิริยา
การทำบุญของชาวพุทธ
|
ชาญณรงค์ บุญหนุน
|
4
[รอกำหนด]
|
คุณธรรมกับจริยธรรม
และการมีชีวิตที่ดีตามวิถีไทย
|
อุดม ตะหน่อง
|
5
[รอกำหนด]
|
ความเชื่อเรื่องกรรมและการเกิดใหม่
|
อุดม ตะหน่อง
|
6 (บทที่ 5)
[รอกำหนด]
|
คำสอนเรื่องกรรมกับสำนึกรับผิดชอบและความเป็นธรรม
|
ชาญณรงค์
บุญหนุน
|
7 (บทที่ 6)
[รอกำหนด]
|
คำสอนเรื่องกรรมกับสำนึกความเท่าเทียมกัน
|
ชาญณรงค์ บุญหนุน
|
8 (บทที่ 7)
[รอกำหนด]
|
ลูกผู้ชายไทยในร่มเงาพุทธศาสนา : บวชเป็นพระ
|
อุดม ตะหน่อง
|
สารบัญ (ต่อ)
สัปดาห์ที่
|
หัวข้อ/รายละเอียด
|
อาจารย์ผู้สอน
|
9 (บท 8)
[รอกำหนด]
|
สตรีไทยใต้ร่มเงาเถรวาท :
บวชเป็นชี
|
อุดม ตะหน่อง สไลด์_บรรยาย(สอบ)
|
10 (บท 8)
[รอกำหนด]
|
สตรีไทยใต้ร่มเงาเถรวาท:
บวชเป็นภิกษุณี
|
อุดม ตะหน่องสไลด์_บรรยาย(สอบ)
|
11 (บท 9)
[รอกำหนด]
|
วัดในฐานะพื้นที่ทางจิตวิญญาณและแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมพุทธศาสนา
|
ชาญณรงค์ บุญหนุน
|
12 (บท 10)
[รอกำหนด]
|
พระพุทธรูป
การบูชารูปเคารพของชาวพุทธในประเทศไทย
|
ชาญณรงค์ บุญหนุน
|
13 (บท 11)
[รอกำหนด]
|
พราหมณ์ ผี ในวิถีของชาวพุทธไทย
|
คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง
|
14
[รอกำหนด]
|
พุทธศาสนากับคนไทย
: ศาสนาประจำชาติและความหลากหลายทางวัฒนธรรม
|
ชาญณรงค์ บุญหนุน
|